วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

          จากการเรียนในวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ทำให้ได้ศึกษา เรียนรู้หลักและทฤษฎีสื่อประสบการณ์การเรียนรู้ของ Edgar Dale แล้วนำมาใช้ในการเรียนรู้ จากการศึกษาจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งหลักและทฤษฎีของ Edgar Dale มีการจำแนกสื่อการสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่เราได้จากการไปศึกษา ทำให้เราได้รับความรู้โดยตรงจากสถานที่และการบรรยาย ให้ความรู้จากวิทยากร อ่านและศึกษาความรู้ต่างๆด้วยตนเอง เรียนรู้จากประสบการณ์จำลอง จากหุ่นจำลองสัตว์ชนิดต่างๆที่ทางสถาบันวิทยาศาสตร์นำมาจัดแสดง มีการแสดงการสาธิตการโดยให้อาหารปลาของนักประดาน้ำ และการได้ศึกษานอกสถานที่ ซึ่งก็คือ การมาศึกษาที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้นั่นเอง อีกทั้งยังมีในส่วนของการจัดเป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการ แสดงเรื่องราววงจรชีวิตของสัตว์ต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ มีสื่อที่เป็นภาพยนต์ และโทรทัศน์ให้ติดตามเรื่องราวต่างๆ เป็นการเพิ่มความสนใจ มีการใช้ภาพนิ่ง เป็นทัศนสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพเสมือนจริงหรือภาพที่เป็นการ์ตูน มีการใช้ในเรื่องของวจนสัญลักษณ์ที่เป็นเรื่องของภาษา ตัวหนังสือ สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงเป็นแหล่งที่จะให้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างดี นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

8 กรกฏ ประเพณีวิ่งเขาสามมุข


          วิ่งประเพณีเขาสามมุขเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจัดให้มีขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม ของทุกปี
    เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนามหาวิทยาลัย จะจัดให้ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้เข้าร่วมกิจกรรม ประเพณีนี้นิสิตที่นี่เค้าเล่ากันต่อๆมาว่าถ้าได้เรียนที่ ม.บูรพาจะต้องเข้าร่วมประเพณีวิ่งเขาสามมุข ถ้าไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะเรียนไม่จบ นี่เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ชาวบูรพาเล่าต่อๆกันมา โดยกิจกรรมการวิ่งประเพณีเขาสามมุขนี้จะเริ่มตั้งแต่ในยามเช้าตรู่โดยจะมีรถมารับนิสิตจากหน้าอาคาร ภปร.ไปส่งเชิงเขาสามมุขที่เป็นจุดสตาร์ท จากนั้นจะมีการปล่อยตัวนักวิ่ง ประเพณีเขาสามมุขสู่มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเส้นทางในการวิ่งจะวิ่งจากเขาสามมุขผ่านแหลมแท่น สู่ถนนเรียบชายหาดบางแสน ผ่านวงเวียนบางแสนเข้าสู่ถนนหน้ามหาวิทยาลัย จุดเส้นชัยจะอยู่ที่บริเวณสวนสวนเทา – ทอง 50 ปี จุดนี้เองเป็นจุดสำคัญสำหรับนิสิตอย่างเราๆ เพราะบริเวณเส้นชัยนี่เองที่มีความเชื่อมาหลายต่อหลายรุ่นแล้วว่าถ้าได้เหยียบตัว A ตรงคำว่า GOAL ผลการเรียนของเราก็จะได้ A ด้วย ถึงจะเป็นเรื่องของความเชื่อ แต่ทุกปีที่วิ่งประเพณีตัว A ก็จะถูกเหยียบจนสีจางไปเลยทีเดียว 
  ในการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาก็เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รู้รักสามัคคีแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะในการวิ่งเขาสามมุข เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่นิสิตที่ชนะสามารถวิ่งจากเขาสามมุขมาถึงมหาวิทยาลัยเป็นคนแรกเมื่อวิ่งมาถึงมหาวิทยาลัยแล้วจะได้ยินเพลงแห่งความภาคภูมิใจ นั่นคือ เพลง แปดกรกฎ


ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
   1. การออกแบบ (Design)  

   2. การพัฒนา (Development)  
   3. การใช้ (Utilization)
   4. การจัดการ (Management)
   5. การประเมิน (Evaluation)

1. การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่
    1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
          1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง
          2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน
          3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน
          4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน   
          5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

    1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน                     
    1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
    1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
    2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ  ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน                 
    2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ
    2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย                 
    2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ 

3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
    3.1 การใช้สื่อ  (Media Utilization)  เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน      
    3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 
    3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ       
    3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ     
    4.1 การจัดการโครงการ (Project Management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ        
    4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ                       
    4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
    4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
    5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                 
    5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา          
    5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป          
    5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

แหล่งที่: http://www.gotoknow.org/blog/kru-fern/441188

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน

สื่อการสอน
          ความหมาย ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน
          ความสำคัญ สื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ เพราะสื่อจะเป็นตัวกลางสำคัญที่นำเอาความรู้ ความคิด ประสบการณ์และทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องใช้สื่อ สื่อการสอนทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
          ประเภทของสื่อการสอน
แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท            
              - สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
              - สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
              - สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material
แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา               
                1. วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
                2. อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง
                    และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
                3. วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้
                    ชุมชน
สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)
                -  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ
สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
                -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)
                            สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือ
             เทคนิค  ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยใน
             การดำเนินงานได้
แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale                            1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย       7. โทรทัศน์
                            2. ประสบการณ์จำลอง                          8. ภาพยนตร์
                            3. ประสบการณ์นาฏการ                        9. ภาพนิ่ง
                            4. การสาธิต                                          10. ทัศนสัญญลักษณ์
                            5. การศึกษานอกสถานที่                      11. วัจนสัญญลักษณ์
                            6. นิทรรศการ
ตัวอย่างการใช้สื่อการสอน

แบบฝึกหัด

1. มีการกล่าวถึงความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุว่าเป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
- ตามความเห็นของดิฉัน สื่อการสอนไม่ใช่สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองเลย เพราะว่า วัสดุเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่เป็นช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ บางครั้งการที่เราสร้างวัสดุขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง อาจจะต้องมีการลงทุน แต่ถ้าวัสดุเหล่านี้มีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษาก็ไม่ใช่เรื่องที่สิ้นเปลือง




2. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร/สรุปสาระสำคัญ
- แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม มีดังนี้
          ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ รับรู้ และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
          ประสบการณ์จำลอง ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก อาจเป็นสิ่งของหรือสถานการณ์จำลอง
          ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง เรียนรู้จากการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร
          การสาธิต เรียนรู้จากการแสดงหรือการกระทำพร้อมคำอธิบาย เป็นลำดับขั้น
         การศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้จากประสบการณ์ภายนอกชั้นเรียน โดยการจดบันทึกหรือสัมภาษณ์
          นิทรรศการ เรียนรู้จากสิ่งที่จัดแสดงในลักษณะของนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ
          โทรทัศน์ ใช้โทรทัศน์เป็นสื่อการสอน อาจเป็นการบันทึกลงเทปวิดิโอหรือเป็นรายการสด
          ภาพยนต์ ใช้ภาพยนต์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวมีเสียงประกอบ บันทึกลงแผ่นฟิล์ม เป็นสื่อการสอน
          ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง สื่อเหล่านี้ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว สื่อเหล่านี้ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้แม้จะอ่านหนังสือไม่ออก
          ทัศนสัญลักษณ์ สื่อเหล่านี้ผู้เรียนจะต้องมีพื้นฐานเข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรม จึงจะเข้าใจเนื้อหาที่สื่อนำมาเสนอ
          วจนสัญลักษณ์ สื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด



วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สังคมอมยิ้ม

หนังสั้น เรื่อง ครูขยะ


          เรื่องราวของคุณครูที่จะทำให้ทุกคนประทับใจในประสบการณ์การฝึกสอน และจะทำให้เราได้เตือนตนเองได้เสมอว่า "คุณครู" มีได้เป็นเพียงเรือจ้าง

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน

          ตั้งแต่ที่ดิฉันได้เริ่มเรียนในวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับกระบวนการ การออกแบบและเทคนิควิธีการสอน การพัฒนาในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ โสตทัศน์ คอมพิวเตอร์ และแบบบูรณาการ การใช้สื่อ การจัดการระบบต่างๆ จนถึงการประเมิน การวิเคราะห์ ตลอดจนการสรุปผล ทำให้ดิฉันได้ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น เพราะการที่เราจะไปสอนได้นั้น เราก็ต้องมีเทคนิคและวิธีการสอนที่น่าสนใจ หากว่าสอนตามหนังสือ หรือใช้เพียงชีส เขียนกระดาน แล้วสั่งงาน เด็กๆก็คงจะเบื่อและหมดความสนใจในการเรียนอย่างแน่นอน แต่วิชานี้ อาจารย์จะสอนทั้งส่วนที่เป็นทฤษฎี และมีใบงานจากการที่ดูสื่อประเภทวิดีโอ ซึ่งการที่ได้ดูวิดิโอเรื่องต่างๆ ก็เป็นการสอดแทรกประสบการณ์สิ่งใหม่ๆ เรื่องราวรอบตัวที่น่ารู้ เป็นการเรียนรู้นอกตำราเรียนที่ดียิ่ง เด็กควรจะได้เรียนทั้งในและนอกตำราเพื่อเป็นการฝึกหาประสบการณ์ใหม่ๆไปในตัว ไม่เกิดความจำเจเบื่อหน่าย การที่อาจารย์พาออกไปดูสิ่งต่างๆนอกสถานที่ เช่น การอบรมที่หอสมุด ก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่ ทำให้ได้รู้เรื่องราวจากสถานที่ๆต่างๆ ที่ยังเกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนของเรา
          จากวันแรกที่เข้าเรียนจนถึงปัจจุบัน ดิฉันได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย จากอาจารย์ จากที่ตอนแรกเคยกังวลว่าจะปรับตัวกับการเรียนในระดับอุดมศึกษา ว่าจะเรียนยังไง จะเข้าใจหรือเปล่า แต่จนถึงวันนี้ ด้วยการเรียนการสอนของอาจารย์ ทำให้ลูกศิษย์คนนี้ มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น คิดว่าการเรียนในระดับอุดมศึกษาไม่ยากเกินไปหนัก หากเรามีความพยายาม จากวันนี้ไป ดิฉันก็จะมุ่งมั่นและตั้งเรียน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้และนำประสบการณ์จากการสอนที่ดีของอาจารย์ไปใช้ในอนาคตต่อไปค่ะ

Educational Technology My Dream

"ความฝัน" ฝันของทุกคนย่อมแตกต่างกันไป เราต่างคน ต่างที่มาก็ย่อมที่จะต่างความคิด บางครั้งสิ่งที่เคยคิดเมื่อครั้งที่เรายังเป็นเด็ก ว่า ถ้าเราโตขึ้น เราจะต้องทำสิ่งนั้น ทำแบบนั้น แบบนี้ แต่เมื่อโตขึ้นมา ความคิดของเราเปลี่ยน ความฝันในวัยเด็กของเราก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ความฝันคงจะขึ้นอยู่กับความคิด ความอ่านในขณะนั้น แต่ก็มีไม่น้อยที่ใช้ความฝันของตัวเองมาเป็นแรงผลักดัน เป็นกำลังใจของชีวิต ให้ได้ก้าวเดินต่อไป สำหรับตัวของดิฉัน ในวัยเด็กก็มักจะตอบในอาชีพที่เราเคยเห็น และรู้จัก ซึ่ง คุณครู คือหนึ่งในอาชีพที่ดิฉันจำได้ดี จนถึงวันนี้ ดิฉันก็ได้มาศึกษาเล่าเรียนในสายอาชีพของความเป็นครู เหมือนเมื่อครั้งยังเด็ก อาจจะเป็นเพราะในครอบครัวของดิฉันมีญาติพี่น้องที่เป็นคุณครู ทำให้อาชีพของการเป็นแม่พิมพ์ของชาตินี้ ยังคงติดอยู่ในความคิดของดิฉัน

"ความหวัง" เมื่อได้ก้าวมาศึกษาเล่าเรียนในสายอาชีพของความเป็นครู ดิฉันก็มีความหวังและความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งว่า ต้องการเป็นคุณครูที่ได้สอนเด็กๆทุกคนให้สนุกไปกับการเรียน ได้สอนทั้งคุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกับความรู้ เพื่อให้เด็กๆเติบโตได้ในสังคมอย่างสมบูรณ์แบบและเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป และเมื่อได้มาเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ก็ทำให้ดิฉันมีมีความหวังในเรื่องของรูปแบบและวิธีการสอนว่าจะใช้สื่อแบบไหน คาดหวังว่าจะได้ความรู้ วิธีการจัดทำสื่อต่างๆเพื่อนำไปสอนเด็กต่อไปในอนาคต

"แรงจูงใจในการเรียน" วิชาเทคโนโลยีการศึกษา สอนให้ดิฉันรู้และเข้าใจในการจัดทำสื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอน สอนวิธีและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดทำสื่อ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป และวิธีการเรียนการสอนของ ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ บำรุงชีพ สอนแบบใช้มื่อการเรียนการสอน โดยการเปิดสื่อ ที่เป็นวิดีโอให้ดูเรื่องราวต่างๆ ทำให้มีความน่าสนใจ และเกิดการต้องการเรียนรู้ มากกว่าการที่จะเรียนแต่ในชีสหรือบนกระดานเท่านั้น และยังมีการออกไปศึกษานอกสถานที่อีก ยิ่งทำให้รู้สึกว่าการเรียนวิชานี้ไม่น่าเบื่อและจำเจอีกต่อไป